การงานอาชีพ


การซ่อมแซมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย

หลักการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า

การซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้ามีหลักการสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
1. เลือกใช้วิธีการซ่อมแซมและดัดแปลงให้เหมาะสม ต้องดูว่ารอยขาดนั้นเป็นรอยขาดจากสาเหตุใด เช่น ถูกหนามเกี่ยวขาดเป็นรูปปากฉลาม ถูกเตารีดร้อนจัดเป็นรอยไหม้ ตะเข็บปริ ชายกระโปรงลุ่ย ฯลฯ เพราะวิธีการซ่อมแซมแต่ละกรณีแตกต่างกัน
2.
ออกแบบให้เหมาะสมกับวัยของผู้ใช้ เช่นถ้านำเสื้อผ้าของผู้ใหญ่มาดัดแปลงเป็นเสื้อผ้าของเด็กโดยการตัดให้เล็ก ลงแล้วก็ควรตกแต่งด้วยการจีบ ระบาย ลูกไม้ ตัวการ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้ดูเหมาะสมกับวัยเด็กมากขึ้น
3.
เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ตกแต่งให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า เพื่อให้ส่วนที่ซ่อมแซมหรือดัดแปลงขึ้นใหม่มีสภาพกลมกลืนกับเสื้อผ้าตัวเดิม มากที่สุด เช่นเลือกกระดุมสีและแบบเดียวกับเม็ดที่หลุดหายไป ใช้ด้ายสีเดียวกับผ้าที่จะซ่อม ใช้เศษผ้าที่มีเส้นใยชนิดเดียวกันมาปะกับรอยผ้าที่ขาด เป็นต้น
วิธีการพื้นฐานในการเย็บผ้า
การเนา
เป็นการเย็บผ้าด้วยมือให้ติดกันชั่วคราวเพื่อการเย็บถาวรหรือการสอยเช่นการ เนาตะเข็บการเนาชายเสื้อและชายกระโปรงเนากระเป๋าให้ติดกับตัวเสื้อเป็นต้น การเนามีหลายชนิดแต่ละชนิดมีประโยชน์และการใช้งานแตกต่างกันการเนาส่วนใหญ่ ทำจากขวาไปซ้ายเพราะคนทั่วไปถนัดขวา
การเนาเท่ากัน คือ การเย็บด้วยมือที่ช่วยยึดผ้า 2 ชิ้นหรือมากกว่าให้ติดกัน มีความถี่ห่างของฝีเข็มเสมอกันทั้งด้านบนและด้านล่าง ฝีเข็มห่างประมาณ 1/4 ถึง 1/2 นิ้ว ซึ่งถ้าเนาห่างกว่านี้จะไม่สามารถบังคับผ้าทั้ง 2 ชิ้นให้อยู่คงที่ได้ การเนาเท่ากันเหมาะสำหรับเนาตะเข็บ ก่อนเย็บเนาชายเสื้อและชายกระโปรงก่อนสอย เป็นต้น

การเนาไม่เท่ากัน เป็นการเนาที่มีความถี่ห่างของฝีเข็มสลับกันฝีเข็มถี่อยู่ด้านบนฝีเข็ม ห่างอยู่ด้านล่างเป็นการเนาที่ช่วยยึดผ้าให้ติดกันแน่นกว่าการเนาเท่ากันการ เนาชนิดนี้ใช้เป็นแนวในการเย็บจักรได้ดีหรือใช้เนาเพื่อลองตัวเสื้อหรือ กระโปรงเป็นต้น

การด้น
เป็นการเย็บด้วยมือที่ใช้แทนการเย็บด้วยจักรมีความทนทานมาก การด้นที่นิยมทั่วไปมี ดังนี้
การด้นตะลุย
วิธีทำคล้ายการเนาเป็นการเย็บผ้า 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างถาวรโดยแทงเข็มขึ้นและลงให้ฝีเข็มถี่ที่สุดใช้เย็บทั่วไป ทำแนวรูดปะผ้า เป็นต้น
การด้นถอยหลัง
เป็นการเย็บผ้า2ชนิดให้ติดกันโดยแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับไปแทงเข็มด้านหลัง ให้มีเข็มมีความยาวเพียง½ของฝีเข็มแรงแทงเข็มลงแล้วดึงด้ายขึ้นทำเช่นนี้ไป จนสิ้นสุดตะเข็บตะเข็บชนิดนี้มีความทนทานมากด้านหน้าจะมีลักษณะฝีเข็มเหมือน การเย็บด้วยจักรส่วนด้านหลังด้ายเย็บซ้อนกันแน่นเหมาะสำหรับเย็บผ้าโดยทั่ว ไปที่ต้องการความทนทาน

การสอย
เป็นการเย็บด้วยมือที่มองเห็นรอยเย็บทางด้านนอกน้อยที่สุดนิยมใช้สอยชาย เสื้อชายกระโปรงชายขากางเกงหรือชายผ้าอื่น ๆ ที่ต้องการความสวยงามประณีตการสอยมีหลายชนิดที่นิยมใช้ทั่วไป มีดังนี้
การสอยซ่อนด้าย
เป็น การสอยที่มองเห็นเส้นด้ายเย็บเพียงเล็กน้อย โดยแทงเข็มให้เข็มสอดในพับบทของผ้าให้กว้างช่วงละประมาณ 1 เซนติเมตร ก่อนแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างประมาณ 1 – 3 เส้นแล้วสอดเข็มเข้าไปในเส้นทบผ้าแทงเข็มออกสะกิดเส้นด้ายจากผ้าชิ้นล่างทำ เช่นนี้เรื่อยไปจนสิ้นสุดแนวที่ต้องการสอย
การสอยฟันปลา
เป็นการสอยที่มองเห็นเส้นด้ายทางด้านผิดมากกว่าทางด้านถูกโดยแทงเข็มสะกิด เนื้อผ้าด้านบนและด้านล่างแล้วดึงเข็มดึงด้ายตามทำเช่นนี้ไปจนสิ้นสุดการ เย็บการสอยชนิดนี้เป็นการสอยที่ให้ความทนทานนิยมใช้สอยชายกางเกงทั่วไปไว้ เพื่อให้เย็บตรงตำแหน่งใช้ด้ายเย็บตรงกลางฐานก้านกระดุมกับตัวเสื้อไม่ดึง

การติดกระดุม ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีติดกระดุม 2 ชนิดคือ
กระดุมมีก้าน คือ กระดุมที่มีส่วนยื่นออกมาจากใต้เม็ดกระดุมเพื่อใช้เย็บติดกับเสื้อผ้า การติดกระดุมชนิดนี้จะไม่มีเส้นด้ายเย็บปรากฏบนเม็ดกระดุมวิธีติดกระดุมมี ก้านนิยมใช้เศษผ้ารองใต้ผ้าให้ตรงตำแหน่งก้านต้องทำเครื่องหมายงด้ายเย็บจน ตึงเพราะจะทำให้เสื้อย่น มีขั้นตอนการติดดังนี้
1.
วางกระดุมลงบนผ้าในตำแหน่งที่จะติดกระดุม สอดเข็มหมุดที่ห่วงก้านกระดุมเพื่อยึดไว้ชั่วคราว
2.
แทงเข็มขึ้นด้านบนสอดเข้าไปในห่วงกระดุม แทงเข็มลงให้ทะลุผ้าด้านล่าง ดึงด้ายให้ตึงเอาเข็มหมุดออก
3.
ทำแบบข้อ 2 ซ้ำประมาณ 3 – 4 ครั้ง พันก้านกระดุมด้วยด้าย 3 รอบ แทงเข็มลงใต้ชิ้นผ้าผูกปมให้แน่น ตัดด้ายออก
กระดุมไม่มีก้าน คือกระดุมที่มีรู 2 รู หรือ 4 รู ปรากฏให้เห็นบนเม็ดกระดุม การเย็บกระดุมชนิดนี้จะมองเห็นเส้นด้ายที่เย็บ วิธีการเย็บกระดุมไม่มีก้านถ้าเป็นกระดุม 2 รู ให้ขมวดปลายหนึ่งของด้ายเย็บให้เป็นปม ทำเช่นเดียวกับเย็บกระดุม 2 รูหรืออาจแทงเข็มให้เส้นด้ายด้านบนทแยงไขว้กันก็ได้ มีขั้นตอนการทำดังนี้
1.
กาเครื่องหมายตรงตำแหน่งที่ต้องการจะติดกระดุม
2.
ใช้ด้าย 2 ทบ ร้อยเข็ม เพื่อให้กระดุมแน่นหนาไม่หลุดลุ่ยง่าย ขมวดปลายด้ายทำปม ใช้เข็มแทงขึ้นตรงบริเวณที่ทำเครื่องหมายไว้ถึงด้ายให้แน่น
3.
วางกระดุมลงตรงกลางแล้วสอดเข็มลอดรูกระดุม รั้งด้ายให้ตึง แทงขึ้นลงตามรูกระดุมกลับไปกลับมาหลายครั้งจนกระดุมแน่น
4.
สอดด้ายใต้กระดุมซ่อนปมอีกครั้งแล้วตัดด้ายออก

กระดุมแป๊บ
ทำด้วยโลหะผสม มีลักษณะต่างไปจากกระดุมธรรมดา คือประกอบด้วยฝาบนซึ่งมีปุ่มนูนตรงกลางและตัวรับซึ่งตรงกลางเป็นแอ่ง ต้องใช้คู่กันเสมอทำให้ประกบกันสนิท การติดกระดุมแป๊บถ้าเป็นผ้าบางควรจะมีผ้าชิ้นเล็ก ๆ รองข้างในตรงตำแหน่งที่เย็บกระดุมเพื่อความคงทน ส่วนใหญ่ใช้กับเสื้อสตรีสำหรับยึดสาบเสื้อหรือขอบแขนให้ติดกัน มีขั้นตอนการติดดังนี้
1.
วางกระดุมลงในตำแหน่งที่ต้องการ แป๊บตัวผู้วางบนสาบเสื้อชิ้นบน แป๊บตัวเมียวางบนสาบเสื้อชิ้นล่าง สนด้ายใส่เข็มขมวดปลายด้ายให้เป็นสองทบ
2.
แทงเข็มสอดขึ้นลงในรูกระดุมทีละรู รูละ 3 ครั้ง เมื่อจะเย็บรูต่อไปให้แทงเข็มโดยซ่อนด้ายไว้ใต้ผ้าแล้วดึงเข็มขึ้น เมื่อเย็บครบ 4 รู้จึงผูกปมด้าย ทั้งแป๊บตัวผู้และตัวเมียมีวิธีการเย็บเหมือนกัน

การดัดแปลงเสื้อผ้า

การดัดแปลงเสื้อผ้า
เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เก่า ขาดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ เสื้อผ้าที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป สามารถดัดแปลงนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ โดยการแก้ไข ตัด ต่อ ตกแต่งให้เหมาะสม ซึ่งจะช่วยประหยัดรายจ่ายค่าเครื่องนุ่งห่ม และได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจในผลงานและเป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย



เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ต้องการการดัดแปลง จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.
เสื้อผ้าที่ยังมีสภาพดี ต้องการดัดแปลงเพื่อหนีความจำเจหรือเพื่อให้ทันสมัย
2.
เสื้อผ้าที่มีรอยชำรุด จำเป็นต้องนำมาดัดแปลงเพื่อแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงสภาพที่ชำรุด

การดัดแปลงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเลือกวิธีใด ควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1.
ออกแบบเสื้อ กางเกง หรือกระโปรงตัวใหม่ก่อน โดยยึดหลักความคงทน
และประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ
2.
เลือกวิธีการดัดแปลงแก้ไขบางส่วนที่เหมาะสมกับเสื้อผ้า เช่นตัดให้สั้น
ตกแต่งเพิ่มเติม เปลี่ยนแบบ
3.
เตรียมเครื่องในการตัดเย็บ และวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการดัดแปลงให้พร้อม
4.
ลงมือดัดแปลงตามแบบ
5.
ตกแต่งเสื้อผ้าที่ดัดแปลงให้เรียบร้อย สวยงาม
6.
นำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ดัดแปลงแล้วไปใช้ให้คุ้มค่าเวลา ทุน และแรงงาน
ที่เสียไปกับการดัดแปลง
วิธีที่ 1 การตัดให้สั้น เช่น
-
เสื้อแขนยาวทำเป็นเสื้อแขนสั้น
-
กระโปรงตัวยาวตัดชายให้สั้น
-
กางเกงขายาวเป็นกางเกงขาสั้น
วิธีที่ 2 การต่อให้ยาว
วิธีที่ 3 การเปลี่ยนสัดส่วน เช่นเสื้อของผู้ใหญ่ที่มีรอยขาดหรือเก่าแล้วนำมาเปลี่ยนสัดส่วน ดัดแปลงเป็นเสื้อเด็กแบบง่าย ๆสำหรับใส่อยู่บ้านได้ โดยออกแบบตัดเย็บหลบเลี่ยงรอยขาด หรือรอยต่อตะเข็บของเสื้อตัวเดิม
วิธีที่ 4 การแก้ไขบางส่วน เช่นเสื้อปกขาดแก้เป็นคอกลม แขนเสื้อขาดแก้
เป็นเสื้อไม่มีแขนหรือแขนกุด
วิธีที่ 5 การตกแต่งเพิ่มเติม เช่นดัดแปลงโดยนำมาติดโบ ติดลูกไม้ ปัก
ลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เสื้อดูใหม่ มีสีสันและน่าใช้ขึ้น
วิธีที่ 6 การเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย
-
เสื้อชุดเก่าเปลี่ยนเป็นผ้ากันเปื้อน
-
ผ้าเช็ดตัวเก่าเปลี่ยนเป็นผ้าจับหูกระทะ




เครื่องมือในการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า
เครื่องมืออุปกรณ์การตัดเย็บ เป็นสิ่งที่ช่วยให้งานตัดเย็บมีความละเอียด เรียบร้อย รวดเร็ว และได้ผลดี อนึ่ง เครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ต้องมีการทำความสะอาด และควรเก็บรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่เสมอ เพราะงานตัดเย็บต้องใช้ฝีมือ มีความละเอียดเรียบร้อย มีความประณีต และมีความเที่ยงตรงเป็นหลักสำคัญ ซึ่งการใช้และการถนอมเครื่องมือเป็นการฝึกนิสัยของคนช่างที่ดี ดังนั้นจึงควรรู้จักอุปกรณ์ทุกชนิด เพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสมตามชนิดของผลงานและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดีที่ สุด เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน ดังนี้

1)
กรรไกรตัดผ้า กรรไกรที่ใช้สะดวกเหมาะมือคือกรรไกรยาว 7-8 นิ้ว มี 2 ชนิดคือ กรรไกรด้ามโค้งและกรรไกรตัดผ้า มีอยู่หลายแบบหลายยี่ห้อ มีทั้งกรรไกรสำหรับคนถนัดซ้ายและขวา ควรเป็นกรรไกรที่ทำด้วยเหล็กที่มีคุณภาพดี กรรไกรที่ดีต้องมีความคมตั้งแต่โคนถึงปลายกรรไกร
การเก็บดูแลรักษากรรไกร ให้ปฏิบัติดังนี้
1.
ขณะใช้งานควรวางเบา ๆ และ ระวังอย่าให้กรรไกรตก เพราะจะทำให้สูญเสียศูนย์ ตัดผ้าไม่ขาด
2.
ไม่ควรใช้กรรไกรตัดผ้าที่ซ้อนกันหลายๆชั้นเพราะจะทำให้คมกรรไกรเสีย
3.
ห้ามนำกรรไกรตัดผ้านำไปตัดกระดาษหรือสิ่งอื่นที่ไม่ใช้ผ้า เพราะจะทำให้กรรไกรทื่อนำไปตัดผ้าไม่ขาด
4.
ควรเก็บกรรไกร ในกล่องเครื่องมือตัดเย็บ หรือเก็บในลิ้นชักจักร
5.
ก่อนเก็บกรรไกร ควรเช็ดทำความสะอาด และเช็ดด้วยน้ำมันจักร เพื่อป้องกันการเป็นสนิม
2.
เข็มจักร เข็มมือ และเข็มหมุด
-
เข็มมือ ใช้สำหรับ เนา สอย เย็บติดเครื่องเกาะเกี่ยว ถักรังดุม เย็บในส่วนที่จักรเย็บไม่ได้ เข็มมีอยู่หลายขนาด ได้แก่ เข็ม เบอร์ 7-8 ใช้เย็บผ้าหนาและถักรังดุม เข็มเบอร์ 9 ใช้เย็บผ้าหนาปานกลาง เข็มเบอร์ 10 ใช้เย็บผ้า บาง เข็มเบอร์ 11 ใช้เย็บผ้าเนื้อบาง เข็มสำหรับสอยผ้าจะใช้ตั้งแต่เบอร์ 9-11
การเก็บดูแลรักษาเข็มเย็บผ้าด้วยมือ เข็มเย็บผ้าด้วยมือหลังจากการใช้ ถ้าจัดเก็บไม่ถูกต้องจะทำให้เป็นสนิม เข็มที่เป็นสนิมไม่ควรนำมาใช้งาน เพราะจะทำให้สนิมติดผ้า ซักออกยาก เพื่อยืดอายุการใช้งานของเข็มเย็บด้วยมือ ให้ปฏิบัติดังนี้
1.
ในกรณี ที่เก็บนาน หลังจากการใช้งานให้เช็ดด้วยน้ำมันจักร เก็บในห่อที่เป็นกระดาษตะกั่วหุ้มด้วยกระดาษสีดำ และควรแยกห่อกับเข็มที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน
2.
ในกรณีที่ใช้งานบ่อยๆ ควรเก็บใส่กล่องเข็ม ก่อนการเก็บควรเช็ดเข็มให้แห้ง อย่าให้เปื้อนเหงื่อ หรือเช็ดด้วยน้ำมัน การปักเข็มไว้ที่หมอนเข็มหลังจากการช้างานโดยไม่เช็ดเข็ม จะทำให้เข็มเกิดสนิมได้ง่าย เนื่องจากทำด้วยเหล็กจึงทำปฏิกิริยากับสิ่งเปียกชื้น คือ เหงื่อและอากาศ
-
เข็มหมุด ใช้สำหรับตรึงผ้า แสดงแนวการเย็บ
การเก็บรักษาเข็มหมุด ควรเก็บใส่กล่องเข็มหมุดหรือปักไว้บนหมอนปักเข็ม
-
เข็มจักร ใช้สำหรับใส่จักรเย็บเท่านั้น
การเก็บรักษา เข็มจักร ควรเช็ดด้วยน้ำมันวาสลิน ปักไว้บนหมอนปักเข็มหรือห่อด้วยกระดาษตะกั่ว
3 )
สายวัด สายวัดที่มีขายในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด เช่น ผ้าเทป ไฟเบอร์กราส พลาสติก เป็นต้น สายวัดที่ดีควรทำด้วยวัสดุไม่ยืด ไม่หด สามารถใช้ได้ทั้งหลักนิ้วและหลักเซนติเมตร สายวัดจะมีความยาย 60 นิ้ว 150 เซนติเมตร มีการแบ่งช่องอย่างชัดเจน ในการวัดตัวหลักเซนติเมตรจะมีความละเอียดกว่าหลักนิ้ว ซึ่งการเย็บผ้าสตรีส่วนใหญ่นิยมใช้หลักเซนติเมตร
1.
การอ่านสายวัดหลักนิ้ว แบ่งเป็น 8 ช่อง นิยมอ่านเป็นเศษส่วน ดังนี้ 1 ช่อง อ่านว่า เศษ 1 ส่วน 8 ,
2
ช่อง อ่านว่า เศษ 1 ส่วน 4, 3 ช่อง อ่านว่า เศษ 3 ส่วน 8 เป็นต้น
3.
การอ่านสายวัดหลักนิ้ว แบ่งเป็น 10 ช่อง นิยมอ่านเป็นทศนิยม ดังนี้ 1 ช่อง อ่านว่า .1,2 ช่อง อ่านว่า .2 ,3 ช่อง อ่านว่า .3 , 4 ช่อง อ่านว่า .4 , 5 ช่อง อ่านว่า .5 เป็นต้น
การเก็บดูแลรักษาสายวัด ให้ปฏิบัติดังนี้
1.
ห้ามใช้สายวัดแทนเชือกผูกเอว เพราะจะทำให้สายวัดบิดเบี้ยวเสียรูป
2.
ควรเก็บรักษาสายวัดโดยวิธีแขวน จะทำให้สายวัดอยู่ในสภาพเดิมไม่เสียรูปทรง สะดวกต่อการใช้งาน
4)
ชอล์กเขียนผ้า ใช้ในการทำเครื่องหมายบนผ้า ใช้ขีดทำแนวผ้า มีอยู่หลายสีทั่วไปลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม ในการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีแบบง่ายหรือเย็บของใช้ ผู้ที่มีความสามารถชำนาญมักใช้ในการสร้างสร้างแบบตัดเย็บบนผ้า
การเก็บรักษาชอล์กเขียนผ้าให้ปฏิบัติดังนี้
1.
เมื่อใช้งานควรระมัดระวังไม่ให้ตก เพราะจะทำให้แตหรือหักได้
2.
ไม่เก็บชอล์กเขียนไว้ในที่ที่มีแดดส่อง เพราะจะทำให้แห้งกรอบ เมื่อนำไปใช้งานจะขีดเส้นไม่ค่อยติดผ้า
3.
ก่อนเก็บชอล์กใช้น้ำมันจักรหรือโลชั่นลูบไล้ทั้งสอง ด้าน เพื่อให้ชอล์กสีไม่แห้ง แข็ง
5)
ที่เลาะผ้า มีด้ามจับเป็นไม้ หรือเป็นพลาสติก ตรงปลายทำด้วยโลหะเคลือบ มีความคม ไม่เป็นสนิม มีปลอกสวมเพื่อป้องกันอันตรายจากปลายแหลม ใช้สำหรับเลาะเส้นด้ายหรือเส้นเย็บที่ไม่ต้องการและใช้เจาะรังดุมที่เย็บ ด้วยจักร
การเก็บดูแลรักษาที่เลาะผ้า ไม่ควรให้สัมผัสของเปียกชื้น เพราะจะทำให้เป็นสนิมควรจัดเก็บใน กล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ
6 )
ลูกกลิ้ง ใช้กดรอยเพื่อลอกเส้นในแบบที่เป็นเส้นเย็บลงผ้า มีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นกลม บาง แต่แข็งแรง มีฟันเฟืองเป็นซี่หยักถี่ ๆ มีด้ามยาวประมาณ 4-5 นิ้ว ปลายแหลมคมสม่ำเสมอ ทำด้วยเหล็ก ไม่เป็นสนิม ส่วนที่เป็นด้ามทำด้วยไม่หรือพลาสติก รอยระหว่างลูกกลิ้งกับด้ามมีความแข็งแรง ทนทาน
การดูแลรักษาลูกกลิ้ง ควรเก็บในกล่องเครื่องมือหรือกล่องอุปกรณ์การตัดเย็บ ควรดูแลรักษาไม่ให้ลูกกลิ้งเป็นสนิม โดยไม่ให้ลูกกลิ้งสัมผัสสิ่งเปียกชื้นลูกกลิ้งที่เป็นสนิมไม่ควรนำมาใช้
7)
กระดาษกดรอยหรือกระดาษคาร์บอน เป็นกระดาษเทียนไข มีหลายสี ควรเลือกใช้สีให้ใกล้เคียงกับผ้า กระดาษกดรอยใช้คู่กับลูกกลิ้ง
การเก็บดูแลรักษากระดาษกดรอย เพื่อให้กระดาษกดรอยใช้งานได้ยาวนาน ควรปฏิบัติดังนี้
1.
ใช้กระดาษขาว ขนาด A4 ปิดทับ ด้านที่เป็นสีขาว
2.
เมื่อต้องการเก็บกระดาษกดรอยให้ใช้กระดาษไขหรือกระดาษขาวปิดทับด้านสี
8 )
ด้าย มี 2 ชนิด คือด้ายเย็บผ้าและด้ายเนา ด้ายที่ใช้เย็บผ้าจะมีความเหนียวและราคาแพงกว่าด้ายเนาผ้าที่มีราคาถูกและ ไม่เหนียว ด้ายเย็บผ้าควรเลือกสีแก่กว่าสีผ้าเล็กน้อย เนื่องจากเสื้อผ้าเมื่อผ่านการซักรีดนานๆ สีของด้ายจะซีดเร็วกว่าสีของผ้า
การเก็บดูแลรักษาด้าย ก่อนการเก็บหลอดด้าย ควรนำปลายด้ายเสียบตรงรอยบากหรือที่เก็บด้าย ถ้าหลอดด้ายแบบที่ไม่มีรอยบากสำหรับเสียบปลายด้ายให้ใช้สก๊อตเทปทับปลายด้าย เก็บรักษาด้ายในกล่องหรือห่อด้วยพลาสติก
9)
จักร จักรเย็บผ้ามีส่วนประกอบสำคัญ คือ ตัวจักร และหัวจักร มี 2 แบบ คือจักรธรรมดา และแบบใช้มอเตอร์
การเก็บดูแลรักษาจักร หลังการเย็บผ้าแล้วควรทำความสะอาดจักร โดยใช้แปรงปัดฝุ่นที่ฟันจักรออก หยอดน้ำมันตามรูที่ส่วนหัวจักร ใช้จาระบีททุกส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม ปิดจักรแล้วคลุมด้วยผ้า สำหรับจักรที่ใช้มอเตอร์ก่อนทำความสะอาดควรปิดสวิตซ์มอเตอร์ ก่อนทุกครั้ง

ประโยชน์ของการซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้า

1.
ช่วยประหยัดรายจ่าย
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจรายจ่ายของครัวเรือนไทยพบว่า ครอบครัวคนไทยมีรายจ่ายเฉลี่ยประมาณเดือนละ 9,828 บาท ใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค 8,595 บาท ในจำนวนนี้เป็นรายจ่ายเฉพาะค่าเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย 322 บาท ( ประมาณร้อยละ 3.3 ) ถ้าเราซ่อมแซมและดัดแปลงเสื้อผ้าไว้ใช้ก็จะช่วยประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ลงได้ เพราะไม่ต้องไปหาซื้อเสื้อตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ชำรุด ยิ่งถ้าเราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องจ้างช่างตัดเสื้อยิ่งจะช่วยประหยัดราย จ่ายของครอบครัวเพิ่มขึ้นอีก และยังสามารถเก็บเงินไว้ใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นด้านอื่น ๆ ได้
2.
ช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของเสื้อผ้า
การซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด หรือดัดแปลงเสื้อผ้าแบบเดิมที่ล้าสมัยให้เป็นแบบใหม่แล้วนำกลับมาสวมใส่จะทำ ให้สามารถใช้เสื้อผ้าชุดนั้น ๆ ต่อไปได้อีกนาน ซึ่งนับเป็นการใชเงานที่คุ้มค่า
3.
ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เวลาที่เราเล่นหรือไปเที่ยวสนุกสนานเป็นเวลาที่สูญปล่าไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ถ้าเรานำเวลาที่มีอยู่มาวางแผนซ่อมแซมดัดแปลงเสื้อผ้าไว้ใส่จะเป็นการใช้ เวลาที่เกิดประโยชน์มากกว่า
4.
เกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน
การซ่อมแซมเสื้อผ้าที่ชำรุด การดัดแปลงเสื้อผ้าด้วยตนเอง เมื่อทำได้สำเร็จย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจ นอกจากนั้นยังอาจมีผู้อื่นชื่นชมผลงานของเราอีกด้วย